- กลับไปหน้าหลัก »
- ปัญหาการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชนเมือง
ลงบทความโดย : Unknown
วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ปัญหาการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชนเมือง
1.ปัญหาการดูแลรักษาความสะอาด
ชุมชนเมืองมีประชากรหนาแน่นมากตามความเจริญของเมืองสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
เปลี่ยนแปลงไปขาดความสมดุลตามธรรมชาติเนื่องจากมนุษย์ได้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประกอบการและอำนวยความสะดวก สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติถูกทำลายด้วยสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมาแทน ทำให้มนุษย์ต้องสูญเสียสิ่งที่ช่วยสร้างสุขภาพและอนามัยของชุมชนบางส่วนไปและเกิดโทษตามมาแทนการดำรงชีพของชุมชนในเมืองเปลี่ยนไปพึ่งอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนเมือง
ต่างพึ่งตนเองต้องแข่งขันในทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมในเมืองกำลังจะเต็มไปด้วยสิ่งมีพิษและอันตรายต่อชีวิต
2.ปัญหาการรักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง
และ ปัญหาล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย
และการออกกำลังกาย
เนื่องจากคนที่อยู่ในชุมชนเมืองเต็มไปด้วยความเร่งรีบ
และการแข่งขัน จึงทำให้ละเลยในการรักษาสุขภาพของฟัน เช่น
การไปพบทันตแพทย์ปีละสองครั้ง หรือ การแปรงฟันหลังอาหาร รวมทั้งละเลยในการล้างมือ
ก่อนรับประทานอาหาร ละเลยการออกกำลังกาย
อีกทั้งในเมืองไม่มีสถานที่ในการออกกำลังกายที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ
3.ปัญหาการรับประทานอาหาร
คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองมักประสบปัญหาความเครียด
คนที่เครียดเรื้อรังจะมีปัญหาการรับประทานอาหารได้ 3
รูปแบบกล่าวคือ
· น้ำหนักเกิน
เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียดผู้ป่วยจะรับประทานอาหารเค็ม มัน หวานเพื่อไปต่อสู้กับความเครียด
และทำให้เกิดลักษณะอ้วนลงพุง
· น้ำนักลดลงเนื่องจากเบื่ออาหาร
· มีการรับประทานอาหารผิดปกติ เช่น Anorexia
nervosa and bulimia nervosa
คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมักจำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดเนื่องจากค่าครองชีพสูงทำให้ไม่สามารถซื้ออาหารที่มีคุณภาพซึ่งมีราคาสูงได้
รวมทั้งค่านิยมการรับประทานอาหารจำพวก fast food ของคนในชุมชนเมือง
4.ปัญหา บุหรี่ สุรา สารเสพย์ติด การพนัน
และการสำส่อนทางเพศ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางสังคม
ที่นำไปสู่การใช้ยาเสพติด ของเด็กและเยาวชนทั้งที่อยู่ในแหล่งเสื่อมโทรมหรือแหล่งอื่น
ๆ ได้แก่ ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ครอบครัวมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เพราะไม่มีความมั่นคงทางอาชีพ
เป็นแรงงานนอกระบบไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ปัญหาสาธารณสุข สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรม
อันเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษในชุมชน ปัญหาการติดเชื้อโรคเอดส์
ปัญหาสังคมอื่น ๆ ปัญหาความแตกแยกในครอบครัว ปัญหาการค้าประเวณี
และปัญหาแหล่งอบายมุข ประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคม
ที่มีส่วนในการผลักดันเด็กและเยาวชนหันเข้าหายาเสพติดทั้งสิ้น
5.ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
ปัจจุบัน คู่สมรสในเมืองที่แต่งงานใหม่
นิยมที่จะแยกอยู่ลำพัง เป็นครอบครัวเดี่ยว มีอิสระ
ไม่ต้องเป็นที่เพ่งเล็งของญาติผู้ใหญ่
และคิดว่าสามารถจะประคองชีวิตครอบครัวของตัวเองให้ประสบความสำเร็จได้
เมื่อมีลูกก็คิดว่าจะเลี้ยงด้วยตัวเอง เลี้ยงแบบสมัยใหม่
ในขณะที่คู่สมรสบางคู่ยังอยู่ในครอบครัวเดิมที่อบอุ่น มี ปู่ ย่า ตา ยาย
ช่วยดูแลหลาน ๆ มีความเข้าใจกัน ในครอบครัวก็มี
จากประสบการณ์ในการทำงานที่แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์สุขวิทยาจิต พบว่า
เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์มาจากครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวขยาย ในจำนวนใกล้เคียงกัน
แต่เมื่อศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาเนื่องมาจากการสื่อสารในครอบครัวเป็นสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารที่แสดงถึงการตำหนิติเตียน
ความไม่พอใจ ซึ่งเป็นทางลบมากกว่าการแสดงออกทางบวก
6.ปัญหาอุบัติภัย
ในสังคมเมืองนั้นเกิดอุบัติภัยมากมายหลายรูปแบบ
สำหรับในชุมชนเมืองอุบัติภัยที่พบมักเป็นอุบัติภัยตามท้องถนน ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก
1.ความประมาท
2.การดื่มสุรา
3. จำนวนผู้ต้องการเดินทางในเมืองมีมากขึ้น
4.ความขัดข้องของยานพาหนะ
เป็นต้น
7.ปัญหาจิตสำนึกของสังคม
จิตสำนึกสาธารณะก็คือจิตสำนึกของสังคม ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาตราบเท่าที่ยังมีการดำรงอยู่ของสังคม ท่ามกลางกระแสเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม ที่มาควบคู่กับการเจริญทางเทคโนโลยีและการเจริญเติบโตของเมือง
ทำให้วิถีชีวิตในแบบชุมชนดั้งเดิมถูกผลกระทบไปด้วย ทั้งเรื่องวิถีชีวิตและการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงาน ย่อมกระทบถึงการดำรงอยู่ของสังคมในรูปแบบเดิมๆ และกระทบถึงจิตสำนึกของสังคมด้วย ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องจิตสำนึกสาธารณะจากวัฒนธรรมปัจเจกชน
8.ปัญหาด้านจิตใจ
สาเหตุความเครียดในชุมชนเมือง
จากสภาวะแวดล้อมในเมือง ทำให้เกิดความเครียดได้ในลักษณะที่เรียกว่า “ร่างกายเครียด” จากการที่ร่างกายกับจิตใจมีความเกี่ยวข้องกัน
แยกจากกันไม่ได้ การเกิดความเครียดทางร่างกายย่อมส่งผลให้จิตใจเครียดตามด้วย
ซึ่งปัจจัยทางร่างกายที่ก่อให้เกิดความเครียด ได้แก่
- ความเหนื่อยล้าทางร่างกาย
ในชุมชนเมืองนั้นชีวิตที่เร่งรีบและการแข่งขัน ทำให้เกิดการทำงานอย่างหนัก
และติดต่อกันเป็นเวลานาน เกี่ยวเนื่องมาจากสภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายที่จะทำให้แต่ละคนมีความพร้อมในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันแตกต่างกัน
- ภาวะโภชนาการได้แก่
ลักษณะนิสัยการรับประทานอาหารที่จะมีผลต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย
การรับประทานอาหารไม่ถูกส่วน ไม่ถูกสุขลักษณะ การรับประทานอาหารไม่เพียงพอหรือมากเกินไป
ซึ่งเกิดจากชีวิตที่เร่งรีบในชุมชนเมือง การใช้หรืออาการบริโภคสารบางประเภท อาทิ
สุรา บุหรี่ ชา กาแฟ ตลอดจนสารเสพติดต่างๆ เหล่านี้ ล้วนทำให้เกิดความเครียดได้